Theory ( ภาคทฤษฏี )
     
ทฤษฏีฮวงจุ้ย
กลับสู่บทนำ
  ความเป็นมาของสัญลักษณ์ หยิน หยาง

ู้คงพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าสัญลักษณ์ หยินหยาง คือความสมดุล ที่มีความตรงข้าม2 ส่วน ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว
อย่างกลมกลืน สื่อถึงความสมดุล แต่จะมีใครบ้างที่จะทราบความเป็นมาว่า สัญลักษณ์ดังกล่าว เกิดจากอะไร
สัญลักษณ์ หยินหยางบางครั้งถูกเรียกว่าสัญลักษณ์ ไท่จี่ ซึ่งมาจากคัมภีร์ อี้-จิง คัมภีร์ อี้-จิงนี้เป็นรากฐานสำคัญ
ที่สุดของปรัชญาจีน เป็นคัมภีร์ที่บันทึกองค์ความรู้ ของปราชณ์จีนโบราณ ที่พยายามจะเข้าใจปรากฏการณ์ของ
ธรรมชาติ และจักรวาล

อี้จิง เป็นหนังสือที่มีความลึกซึ้ง กล่าวถึงกฏแห่งความเปลี่ยนแปลง จึงมักเรียกว่าคัมภีร์แห่งความเปลี่ยนแปลง
ชาวจีน ได้สร้างสัญลักษณ์ การรวมกันของพระอาทิตย์ แทนหยาง และพระจันทร์ แทนหยิน เพื่อให้ง่ายต่อ
ความเข้าใจ ถึงหลักปรัชญา หลังจากที่เฝ้าดูปรากฏการณ์บนท้องฟ้า ชาวจีนโบราณพบว่า มันมีการเปลี่ยนแปลง
ทุกวัน ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่มันก็มีวงจรของการเกิด ฤดูการประจำปี เป็นอย่างนี้มายาวนาน
อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะนำกฎเกณฑ์ที่ค้นพบ มาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตของมนุษย์ ทำให้คนคิดว่า
คัมภีร์อี้จิงเป็นสิ่งที่ยากเกินเข้าใจ

จากการสังเกตท้องฟ้า มีการกำหนดและบันทึกเงา ของเสาไม้สูงราว 8 ฟุต ที่ปักบนพื้นดิน ชาวจีนแบ่งทิศทาง
ออกเป็น 4 ทิศทาง โดยทิศตะวันออก เป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น และตะวันตกคือทิศที่พระอาทิตย์ลับขอบฟ้า
ช่วงที่เงาไม้สั้นที่สุดคือทิศใต้ และช่วงที่เงาไม้ ยาวที่สุดคือทิศเหนือ ตอนกลางคืน กำหนดดาวเหนือเป็นทิศเหนือ
และสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล

- เมื่อเงาไม้ทอดไปทางทิศตะวันออก จะเป็นฤดูใบไม้ผลิ
- เมื่อเงาไม้ทอดไปทางทิศใต้ จะเป็นฤดูร้อน
- เมื่อเงาไม้ทอดไปทางทิศตะวันตก จะเป็นฤดูใบไม้ร่วง
- เมื่อเมื่อเงาไม้ทอดไปทางทิศเหนือ จะเป็นฤดูหนาว

จากการเฝ้าดูเงาจากแสงอาทิตย์เป็นระยะเวลายาวนาน เงาของเสาไม้จะเคลื่อนมาเริ่มในตำแหน่งแรกอีกครั้ง
พวกเขาค้นพบระยะเวลาของ 1 ปี ซึ่งใช้เวลา 365.25 ครั้ง ที่มีการกำหนดจุดของเงาบนพื้นดินส่วนปลายไม้
หรือ คือจำนวนวัน 365.25 วัน พวกเขาแบ่งวงกลมที่มีเสาไม้เป็นจุดศูนย์กลาง ออกเป็น 24 ส่วน ประกอบด้วย
4 ช่วงเวลา คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูร้อน และหนาว โดยใช้ช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้น เป็นตัวกำหนด

เขาแบ่งวงกลม เป็น 6 วงซ้อนกัน โดยมีจุดศูนย์กลางที่เสาไม้ ตัดกับรัสมี 24 ส่วนเพื่อแบ่งส่วนให้ชัดเจนในการ
บันทึกเงาไม้ในแต่ละวัน จึงพบว่า
- เงาที่สั้นที่สุด จะอยู่ช่วงฤดูร้อน(ดวงอาทิตย์ใกล้โลก)
- เงายาวที่สุดจะอยู่ในช่วงฤดูหนาว(ดวงอาทิตย์ไกลโลก)
เมื่อเชื่อมต่อจุดในพื้นที่ที่เกิดเงาจากส่วนของฤดูร้อน จนถึงฤดูหนาว จะเกิดส่วนที่เป็น หยิน คือส่วนที่เกิดเงา
เป็นรูปคลายการขด ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ แนวโคจรของโลกจะทำมุม 23.26' 19'' กับดวงอาทิตย์

 


ผังแสดง Top view ของเสาไม้ปักบนพื้นเพื่อสังเกตการเกิดเงาของไม้ในเวลา 1 ปี



ดวงอาทิตย์ทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรของโลก 23.26' 19''

- ช่วงวันที่มีกลางวันสั้นที่สุด แต่มีกลางคืนยาว คือช่วงหน้าหนาว จะอยู่ด้านล่างเรียกว่า หยิน ส่วนพื้นที่ขาว
เรียกว่าหยาง บริเวณมืดจะมีแสงจันทร์มากกว่าแสงอาทิตย์ ช่วงวันที่มีกลางวันยาวที่สุด แต่มีกลางคืนสั้น
คือช่วงหน้าร้อน



หยินเปรียบเหมือนพระจันทร์ หยางเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ หยางไม่สามารถเกิดได้ถ้าปราศจากหยิน
และ หยินไม่สามารถเกิดได้ถ้าปราศจากหยาง เช่นกัน หยินเริ่มขึ้น ช่วงปลายหน้าร้อน จึงเกิดสัญลักษณ์วงกลม
สีทึบ คือหยิน วางอยู่บนส่วนพื้นที่ที่เป็นหยาง และหยางเริ่มขึ้นช่วงปลายหน้าหนาว สัญลักษณ์วงกลมสีขาว
คือหยางจึงวางอยู่บนส่วนพื้นที่ที่เป็นหยิน

หากคิดให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ เมื่อหมดช่วงฤคูร้อน( พระอาทิคย์ใกล้โลก ) ก็จะเป็นการเริ่มต้นของช่วงฤดูหนาว
และถ้าหมดช่วงฤดูหนาว( พระอาทิคย์ไกลโลก ) ก็จะเป็นการเริ่มต้นของช่วงร้อน หมุนเวียนเป็นอย่างนี้เรื่อยไป และสัญลักษณ์นี้ยังสะท้อนแนวคิดอื่นๆ อีกมากมาย เช่น แนวคิดการกำเนิดของจักรวาล การระเบิดของมวลสาร



ิ สัญลักษณ์หยินหยาง แสดงถึงความเข้าใจเรื่องของปรากฎการณ์ของท้องฟ้า ซึ่งประกอบด้วยระยะเวลาการโคจร
ของโลกรอบดวงอาทิตย์ และฤดูกาล เป็นต้นกำเนิดปรัชญา เกิดเป็นปฏิทินของชาวจีนรวมถึงพัฒนาเป็น
ศาสตร์แขนงต่างๆ
นับแต่นั้นมา

   
1111111111111111111111111111111111  
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
         
                                                                             
     
     
     
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
LAB OF FENG SHUI DESIGN | Trust in business with fengshui design
• Tel : 052-065459 • Fax : 052-065459 • Mobile : 089-7585797 • Webmaster : mail@e-fengshuidesign.com • Facebook : efengshuidesign
Copyright © 2003 www.e-fengshuidesign.com All Rights Reserved.